รู้ไว้ ไม่ใช้ผิด! วิทยุสื่อสารแบ่งคลื่นและการใช้งานอย่างไร

วิทยุสื่อสารที่เราเห็นกันทั่วไป ทั้งบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ที่ดูคล้ายๆกันนั้น จริงๆแล้วมีประเภทสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และหากใช้ผิดประเภท ก็อาจจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ โดยหากแบ่งคลื่นของวิทยุสื่อสารและวิธีการใช้งานตาม กสทช. จะสามารถแบ่งประเภทได้ 4 ชนิด จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

แบ่งคลื่นและวิธีการใช้งานตาม กสทช.

#วิทยุคมนาคมความถี่ภาคประชาชน

ตัวเครื่องมี 2 สี ได้แก่ “เครื่องสีแดง” ใช้ย่านความถี่ 245.0000-246.9875 MHz ใช้งานได้ 160 ช่องความถี่ ส่วน “เครื่องสีเหลือง” ใช้ย่านความถี่ 78.0000-78.9875 MHz ใช้งานได้ 80 ช่องความถี่ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น บริหารอาคาร ท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงงาน เป็นต้น

#เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 1

เครื่องวิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ จะใช้ย่านความถี่ 136-174 MHz โดยแบบประเภทที่ 1 นั้น ผู้ใช้สามารถตั้งความถี่ที่ตัวเครื่องได้เอง แต่จะใช้งานได้เฉพาะหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตพิเศษเท่านั้น

#เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 2

ใช้ย่านความถี่ 136-174 MHz เช่นเดียวกันกับประเภทที่ 1 แต่เครื่องวิทยุสื่อสารแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภทที่ 2 นั้น จะมีการตั้งโปรแกรมความถี่จากคอมพิวเตอร์เอาไว้ เพื่อล็อคการใช้งานไว้ที่บางช่องสัญญาณที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ผู้ที่จะใช้งานวิทยุสื่อสารประเภทนี้ จะต้องเป็นลูกข่ายของทางหน่วยงานราชการเท่านั้น หรือ มูลนิธิ เทศบาล อาสากู้ภัยต่าง ๆ

#เครื่องวิทยุคมนาคมกิจการวิทยุสมัครเล่น

ตั้งความถี่ได้ตั้งแต่ความถี่ 144 – 147 MHz ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นความถี่สำหรับวิทยุสื่อสารสังเคราะห์ความถี่ โดยผู้ใช้จะต้องมีบัตรอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น ซึ่งต้องผ่านการอบรมและทดสอบโดยกิจการวิทยุสมัครเล่น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save